ข้อมูลเหรียญ

เหรียญบูชา องค์ท้าวเวสสุวรรณ
ทั้ง ๗ ปาง (๗ แบบ)

๗ ปาง เนื้อเหรียญองค์ท่าน ปางละ ๗ แบบ ราคาครอบครองบูชา ให้ตกที่เลข ๗
มนต์ขลังแห่ง เลข ๗ ของผลงาน “เทวะตา ศิลปาคม” นี้
อันมีนัยยะเหตุแลผลอันมหาวิเศษพิศดาร ด้วยธรรมปัญญาและ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อันเป็นเหตุบ่อเกิด แห่งความเจริญรุ่งเรือง ของไตรภูมิ บนสามแดนโลกธาตุ ได้รำลึกนึกย้อนถึงพุทธประวัติแห่งพระบรมพระศาสดา ใน วันที่ประสูติ
แห่ง บรมโพธิสัตว์เจ้า ที่จะได้ ตรัสรู้  “ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ” สำเร็จเป็น พระพุทธเจ้า พระนามว่า พระศรีศากยะมุนีโคดมพระพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร) พระราชอุทยานชื่อลุมพินีวัน ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ
(ใต้ต้นสาละ) พระราชกุมารน้อยก็ก้าวลงจากพระครรภ์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทรงชี้พระดรรชนี(นิ้วชี้)ขึ้นฟ้า เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ทรงเปล่ง อาสภิวาจา (วาจาอย่างองอาจ) ตรัสประกาศ แผ่นดินสะเทือนหมื่นโลกธาตุ สนั่นหวั่นไหวไปทั้ง ๓ ภพ ทรงตรัสว่า
“เราเป็นผู้เลิศในโลก เรา เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก เราเป็นใหญ่ที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่ มีการเกิดใหม่อีกต่อไป”
เมื่อประสูติจากพระครรภ์มารดาเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จพระราชดําเนินได้ ๗ ก้าว เป็นนิมิตรหมายให้รู้ว่าพระองค์จะบรรลุโพชฌงค์ คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ ประการ ได้แก่

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ ๗ คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

๑. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

๒. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

๓. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร

๔. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ

๕. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ

๖. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

๗. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

และหมายรวมถึง พระองค์ได้ ประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในทั้ง ๗ แคว้น  คือ จะประกาศธรรมคือความลึกซึ้ง และ หลุดพ้น ที่ไม่เคยมีผู้ใดในโลกธาตุ ณ ขณะนั้น เคย ประกาศเผยแพร่ขึ้นมีมา กล่าวคือ พระพุทธองค์
จะมากระทำ ให้โลกนี้สว่างไสวยิ่งกว่าพระสุริยาส่องแลจันทร์ฉาย (แสงแห่งพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ ) คือ ส่องสว่างด้วยธรรมวิโมกข์ แสงสว่างยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ คือ แสงพระธรรม แสงที่สวยงามยิ่งกว่าดวงจันทรา คือ แสงแห่ง ธรรมปัญญา คือ หลุดพ้นทั้งปวง

ฉนั้น การหมายใจแห่งคณะผู้จัดสร้างองค์ท่านท้าวเวสสุวรรณ อวตารทั้ง ๗ ปาง ในเลขสัตตะ ( เลข ๗ ) นั้น เปรียบดั่งว่า ขอพระบารมีแด่การย่างฝ่าพระบาตร ทั้ง ๗ ก้าว
แห่งพระจอมไตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็น ๗ ก้าว ที่เจริญงอกงามที่สุดเท่าที่โลกธาตุเคยมีผู้ย่างเท้าดำเนินมา ก็ทอส่องแสงสว่างทั้ง ๗ พระบาตร นั้นมาถึงปัจจุบันชาติ ลุล่วงเพลามาช้านาน ก็เจริญมาถึง สองพันกว่าปี
ก็จะสถิตย์สถาพรถึงฝั่ง ห้าพันปี ตาม พุทธกาล
ขอสรรพสิ่งทั้งต้นแลปลายที่ คณะผู้จัดสร้าง ทั้งปวง จงตามสักการะรอยพระพุทธบาท ทั้ง ๗ ก้าว ให้สำเร็จหมายดั่งตั้งใจเจตนาทุกประการ ให้เป็น สิ่งมหัศจรรย์แห่งจิตวิญญาณ
ด้วยพระบารมีแห่งพระรัตนตรัย มาสู่ องค์ท้าวเวสสุวรรณ ให้ก่อเกิดแต่ชัยมงคลทั้งผู้จัดสร้างและผู้บูชาสมดั่งเป็นผลงานแห่ง  “เทวะตา ศิลปาคม”
เทวะตาศิลปาคม แปลว่า ผลงานศิลปะมีองค์เทพยดาอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังทรงพลานุภาพด้วยเวทย์มนต์และพระคาถา ทั้ง อาคมวิทยามหาสรรพวิชา ทิพย์มนต์ อันมากด้วย
พระพุทธคุณแห่งพระรัตนตรัย(ศิลปะที่ต้องด้วยมนต์และพระคาถา) ด้วยพระคาถา โพชฌงค์ ๗

พระอภิธรรม ทั้ง ๗ คัมภีร์

ท้าวเวสสุวรรณ ทั้ง ๗ ปาง

เนื้อองค์บูชาใช้เนื้อสัตตะโลหะ ๗ ประการ

เนื้อเหรียญบูชาทั้ง ๗ เนื้อ

หัวใจทั้ง ๗ ปาง

เป็นการตอกย้ำ หัวใจของทั้ง ๗ ปาง คือ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม ทั้ง ๗ คัมภีร์ )
เปรียบดั่ง องค์ท่านท้าวท่านเสด็จ อวตาร ลงมาทั้ง ๗ ปาง เพื่อปกปักษ์พิทักษ์รักษาเกื้อหนุน เหล่ามวลมนุษย์และทุกภพภูมิ

ให้เกิดความผาสุขด้วยธรรมบารมี
จึงเรียกได้ว่า “สัตตะคัมภีร์ไวศรวัณ” คัมภีร์ที่ว่าด้วย ทั้ง ๗ ปาง แห่ง ท้าวจตุโลกบาล พระนามว่า ท้าวเวสสุวรรณ

ลำดับที่ ๑.เหรียญเนื้อทองคำ นน.๒๐ กรัม(๑๕.๑๖ เท่ากับ ทองคำรูปพรรณ ๑ บาท) กล่องผ้าไหม

ลำดับที่ ๒.เหรียญเนื้อเงินลงยาแดง หน้ากากทองคำ กล่องผ้าไหม

ลำดับที่ ๓.เหรียญเนื้อเงินหน้ากากทองคำ

ลำดับที่ ๔.เหรียญเนื้อนวะโลหะ หน้ากากทองคำ กล่องผ้าไหม

ลำดับที่ ๕.เหรียญเนื้อสามกษัตริย์ กล่องผ้าไหม

ลำดับที่ ๖. เหรียญเนื้ออัลปาก้าลงยาแดง หน้ากากทองคำ กล่องผ้าไหม

ลำดับที่ ๗. เหรียญเนื้อสัตตะโลหะ หน้ากากทองคำ  กล่องผ้าไหม